หลักสูตร Certified NLP Practitioner

คอร์สเรียนฝึกอบรมหลักสูตร NLP Practitioner 4 วัน

( Neuro Linguistic Programming Practitioner Training Course 4 Days. )

            
                NLP หรือ Neuro Linguistics Programming ได้พัฒนาขึ้นโดย ศาสตราจารย์ ริชาร์ด แบนด์เลอร์ และผู้ช่วย ดร. จอห์น กรินเดอร์  แห่งมหาวิทยาลัยซันตาครูซ ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  ได้รับการยอมรับในสหรัฐอเมิรกาและแพร่หลายไปทั่วโลก  เป็นศาสตร์หรือองค์ความรู้ที่ใช้กันแพร่หลายในสาขาอาชีพต่างๆ ได้แก่ นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตบำบัด จิตแพทย์ นักพัฒนาศักยภาพ นักเจรจาต่อรอง นักการตลาด นักขาย นักสร้างแรงบันดาลใจ และนักพูดเพื่อการโน้มน้าวใจ เป็นต้น   

                 NLP เชื่อว่า ปัญหาทางอารมณ์ของมนุษย์ เกิดจากการทำงานของระบบประสาท(Neuro)และจิตใจ(Mind) ที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย(Goals) ชีวิต  เกิดจากการลงโปรแกรม หรือ ปลูกฝัง หรือ สั่งสมทางประสบการณ์ ผ่านจิตสำนึก(Conscious) และ จิตใต้สำนึก(Subconscious) ด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือ ข้อมูลที่เป็นพลังลบ แล้วถูกนำไปแปลความหมายบนพื้นฐานความเชื่อที่ผิดๆ แล้วจัดเก็บเป็นระบบความจำที่ไร้ระเบียบและถูกนำมาใช้อย่างไม่เป็นระบบ   

                  NLP พบว่า การทำงานของสมอง(Brain) ความคิด(Though) หรือจิตใจ(Mind) และการแสดงออก(Action) ทางร่างกาย(Physical)ของคนเรา  ล้วนเป็นเหตุเป็นผลและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ(Systematic) โดยใช้ภาษา(Linguistics) เป็นเครื่องมือในการสั่งการ หากมีการฝึกใช้ชุดคำสั่งทางภาษาที่ถูกวิธี ภาษา หรือ ถ้อยคำสั้นๆ จะเป็นตัวสับไก(Trigger) ก่อให้เกิดการลงมือกระทำทุกๆอย่างให้เป็นผลสำเร็จได้อย่างน่ามหัศจรรย์   

            หลักสูตรการอบรม Neuro Linguistics Programming Practitioner หลักสูตร 4 วัน  ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน  ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้ค้นพบพลังแห่งความยิ่งใหญ่  ที่ซ่อนอยู่ภายในตัวเราทุกคนแต่ยังไม่เข้าใจวิธีการนำมาใช้ หรือ ยังไม่ถูกใช้ให้เต็มศักยภาพ ทุกท่านจะได้เรียนรู้และปลุกพลังที่เหมือนยักษ์หลับให้ตื่นขึ้นมา เข้าใจวิธีการสื่อสารภาษากับสมอง ที่จะทำให้ท่านเป็นคนใหม่ที่เปี่ยมพลังและมีทัศนคติที่ยอดเยี่ยม  โดยเน้นการลงมือฝึกภาคปฏิบัติ(Workshop) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้อย่างเป็นระบบ ความเข้าใจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถนำ NLP ไปปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง พัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว  การทำงานในองค์กร หรือในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น      
 

วัตถุประสงค์  

เป็นหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติกการที่จะทำให้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียบรู้หลักการของศาสตร์ NLP เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินแบบเดิม และเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ สู่การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยดึงเอาศักยภาพที่อยู่ภายในตนเองออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่      

  

สิ่งทีผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้ 

1. การเอาชนะความรู้สึกเชิงลบที่มีต่อตนเอง ลบนิสัยเก่าและความรู้สึกที่ไม่พึงประสงค์และติดตั้งวิธีการใหม่ ๆ ในการคิด การตัดสินใจ สู่การลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย   

2.  เทคนิคในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ตั้งแต่ระดับความคิด การลงมือปฏิบัติ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเคยชินเดิมที่ไม่ดี ไปสู่พฤติกรรมความเคยชินใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ใหม่ที่ดีกว่า   

3. เข้าใจการทำงานที่ซับซ้อนของ การสื่อสารภาษากับสมอง จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก  เพื่อพัฒนาความรู้สึกนึกคิดด้านประสาทสัมผัสทั้งห้า  พัฒนาการใช้สัญชาตญาณหรือการหยั่งรู้ และ เพิ่มความตระหนักในตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ        

  

ประโยชน์ที่จะได้รับ  

1. การค้นพบศักยภาพของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงขึ้น ขจัดความกลัว ความคิดลบที่มีต่อตนเอง เอาชนะความเครียด  ภาวะซึมเศร้า กล้าแสดงออกมากขึ้น     

2.ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงบวก การสร้างแรงบันดาลใจในตนเอง สามารถนำพาตนเองสู่การปรับเปลี่ยนชีวิต เพื่อเข้าถึงเป้าหมายชีวิตของตัวเองได้อย่างเป็นระบบ    

3. การบริหารความสัมพันธ์กับบุคคลรอบด้าน บุคคลในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และบุคคลทั่วไป ได้อย่างยอดเยี่ยม   

4. การถ่ายทอดและแบ่งปันประสบการณ์ในการยกระดับเป้าหมายชีวิตสู่ความสำเร็จกับบุคคลอื่นได้อย่างภาคภูมิใจ

 

กลุ่มเป้าหมายที่ควรจะเข้าเรียนรู้     

ผู้สนใจพัฒนาศักยภาพตนเอง ในระดับการพัฒนาจิตใต้สำนึก   

นักบำบัดที่ต้องการยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญด้วยเทคนิคและกระบวนการ NLP 

 

หัวข้อในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

 

ลำดับที่

หัวข้อ

1

NLP Introduction

 

1.1  NLP คืออะไร (what NLP really is?)

1.2  ประวัติความเป็นมาของ NLP(A Brief History of NLP)

1.3  จะนำศาสตร์ด้าน NLP ไปใช้ทำอะไรได้บ้าง(What can NLP be used for???)

1.4  ใครสามารถนำ NLP ไปใช้ได้บ้าง(Who can use NLP?)

1.5  ความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่าง NLP และ Hypnosis

 

4 Pillars of NLP(เสาหลัก NLP)

3

NLP presuppositions (ข้อสมมติฐานของ NLP)

 

การทำงานของใจ(Mind) ได้แก่ จิตสำนึก(conscious) จิตใต้สำนึก(subconscious)  ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก  สาธิตการทำงานของใจ

5

NLP Tools

 

5.1  Calibration Vs Mind Reading

 

5.2  รูปแบบของสายตา(Eye Pattern) ทำแบบทดสอบ และ การฝึกปฏิบัติ

 

5.3  ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (5 Sensory)

 

5.4  ความสัมพันธ์ ความเชื่อ(Belief) ความคิด(thought) พฤติกรรม(Behavior)

 

5.5  รูปแบบการสื่อสาร(Communication Model) : NLP กับรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ เหตุการณ์>ประสาทสัมผัสทั้ง5>DDG(ตัวกรอง)>ภาพในใจ>สภาวะจิตและอารมณ์>การแสดงออกทางกาย>พฤติกรรม

 

5.6   การสร้างสายสัมพันธ์ (Rapport)

 

5.7  At Cause & At Effect

 

5.8  Intention setting

 

5.9  รูปแบบของการจินตนาการ  และการฝึกปฏิบัติ

 

5.10          Sub modalities

 

5.11          การฝังพลัง(Anchoring/Trigger) 

 

5.12          สภาวะอารมณ์(State)

5

NLP เทคนิค และ การฝึกปฏิบัติ(NLP Techniques  and Practices)

 

T1 : การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด(Reframe Technique (Content/Context))

 

T2:  การถอดแบบ( Modeling Technique)

 

T3: การสลับอารมณ์(Swish Pattern Technique)

 

T4: การเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมในเหตุการณ์(Associate/Disassociate Technique)

5

วิธีโปรแกรมตัวเอง (Incantation) การพูดกับตัวเอง (Self-talk) และ การเขียน Script เพื่อพูดกับตัวเอง  การฝึกปฏิบัติ

6

7  ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของ NLP

 

ตอบข้อซักถาม การทำแบบประเมินตนเอง

 

 ค่าลงทะเบียนท่านละ          บาท  รวมค่าเอกสาร ตำราเรียน อาหารเที่ยงบุฟเฟ่ต์  ของว่างเบรค 2 ช่วงเช้า-บ่าย  ตำราเรียนและประกาศนียบัตรมีค่ารับรองสวยงามเป็นเกียรติ์

 สถานที่จัด: ห้องจัดประชุมสัมมนา

Visitors: 2,885,462